ข้อมูลการทำรากเทียม

ทำรากเทียมที่ไหนดี

ทำรากฟันเทียมที่ Dent R’Us

ทำไมต้อง….ทำรากเทียมที่เดนท์ อาร์ อัส

1. รักษาโดยทันตแพทย์ที่จบเฉพาะทางโดยตรงจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย
2. ทันตแพทย์มีประสบการณ์กว่า 10 ปี ใส่ใจรายละเอียด อธิบายให้คนไข้ได้เข้าใจถึงขั้นตอนการรักษาได้เป็นอย่างดี
3. สามารถทรากเทียมได้ตั้งแต่ 1 ซี่ 2 ซี่ไปจนถึง All on 6 รวมถึงทันตกรรมแบบบรณาการทั้งปาก
4. รากเทียมที่เดนท์ อาร์ อัส เลือกใช้เป็นยี่ห้อที่มีอยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 10 ปี จึงสามารถดูแลได้ในระยะยาว กรณีเกิดปัญหาจากการบดเคี้ยวและอุบัติเหตุ
5. เดนท์ อาร์ อัส มีทีมทันตแพทย์เฉพาะทางครบทุกสาขา เช่น รักษาราก ฟันปลอม ในกรณีที่คนไข้ต้องรักษาหลายรูปแบบเพื่อดูแลฟันทุกซี่ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. X-Ray ระบบดิจิตอล อุปกรณ์ เครื่องมือมาตรฐานสากล สะอาด ทันสมัย


การทำรากฟันเทียมคืออะไร?

รากฟันเทียม วิวัฒนาการทางทันตกรรม เพื่อทดแทนการสูญเสียฟันธรรมชาติจากสาเหตุต่างๆ เช่น ฟันผุ อุบัติเหตุ รากเทียมผลิตจากไทเทเนียมได้รับการออกแบบพัฒนามาให้คล้ายรากฟันจริง ไม่มีผลข้างเคียงที่จะทำให้เกิดอันตราย โดยจะทำการฝังลงไปในกระดูกใต้เหงือก เพื่อให้กระดูกยึดติดกับรากฟันเทียมซึ่งใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือนแล้วแต่โครงสร้างกระดูกเดิมของคนไข้ การใส่รากเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

องค์ประกอบรากเทียม

การทำรากฟันเทียมแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1. รากฟันเทียม 1 ซี่

หมายถึง รากฟันเทียมที่มีลักษณะคล้ายสกรู 1 ตัว และฟัน 1 ซี่ ใช้สำหรับทดแทนฟันที่หายไปจำนวน 1 ซี่ โดยไม่ต้องกรอฟันซี่ข้างๆ เหมือนกับการใส่สะพานฟัน (ฟันปลอมชนิดหนึ่งที่ใช้วิธีติดฟันปลอมกันฟันซี่ข้างๆ ด้วยซีเมนต์ทางทันตกรรม) ฟันที่ได้จะมีลักษณะเหมือนฟันปกติทั่วไป บดเคี้ยวอาหารได้ ใช้ไหมขัดฟันได้ ทำความสะอาดได้ตามปกติ และยังมีลักษณะใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด

2. รากฟันเทียมหลายซี่

ในกรณีที่ต้องฟันหายไปหลายซี่ติดกัน (ส่วนใหญ่อยู่ที่ 2-3 ซี่) จะมีการใส่รากฟันเทียมที่ซี่แรกกับซี่สุดท้าย แล้วยึดรากฟันเทียมเข้ากับส่วนกระดูกใต้เหงือก (ฟันซี่กลางอาจไม่ต้องใส่รากฟันก็ได้) ยังถือว่าเป็นการทดแทนฟันจริงที่ใกล้เคียงกับฟันจริงมากกว่าสะพานฟันเหมือนเดิม

3. รากฟันเทียมทั้งปาก

สำหรับผู้ป่วยที่สูญเสียฟันเป็นจำนวนมาก การใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ทั้งปากอาจฟังดูสะดวกสบาย แต่ในระยะยาวการที่ไม่มีรากฟันยึดกระดูกใต้เหงือกเอาไว้ อาจทำให้กระดูดขากรรไกรตรงส่วนที่ไม่มีฟันค่อยๆ ละลาย หรือหดตัวลงได้ ฟันปลอมอาจไม่สามารถยึดติดกับเหงือกบริเวณนั้นได้ดังเดิม นอกจากนี้เมื่อเวลาผ่านไป รูปหน้าอาจจะเปลี่ยนได้ ดังนั้นการใส่รากฟันพร้อมครอบฟันหลายซี่ในคราวเดียวกันทั้งปาก จะช่วยรักษาโครงหน้าเดิมเอาไว้ได้ และให้ฟันที่แข็งแรง ดูแลรักษาง่าย เสมือนฟันจริงมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม สำหรับวิธีที่ดีสุดในการเลือกรากฟันเทียมคือ การเข้ามารับการปรึกษาจากทันตแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งทันตแพทย์จะเลือกรากฟันเทียมที่เหมาะสมให้คนไข้แต่ละคนได้ดีที่สุด เหมาะสมกับการใช้งานและทดแทนฟันแท้ที่หายไป

ขั้นตอนการทำรากเทียม

ขั้นตอนที่ 1 รากเทียม (Fixture)  : ทำการฝังรากฟันเทียมลงบนกระดูกในตำแหน่งฟันที่หายไป ซึ่งจะใช้เวลาค่อยๆยึดติดกับกระดูก ในกรณีที่กระดูกไม่สามารถรองรับรากเทียมได้ทันตแพทย์จะทำการปลูกกรดูก (Bone Graft) คือการเติมกระดูกเพื่อให้ได้ฐานรองรับรากฟันเทียมที่เหมาะสม โดยมีทั้งวัสดุกระดูกเทียมชนิดต่างๆ หรือกระดูกของคนไข้เอง

ขั้นตอนที่ 2 เดือยฟัน (Abutment) : หลังจากฝังรากเทียมบนกระดูกขากรรไกร เป็นเวลาประมาณ 3-6 เดือน เพื่อให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรได้ดี จากนั้นจึงจะใส่เดือยฟัน ลงบนรากเทียม เพื่อใช้เป็นที่รองรับครอบฟัน

ขั้นตอนที่ 3 ครอบฟัน (crown) : ทันตแพทย์จะทำการออกแบบครอบฟันที่อยู่ด้านบนของเหงือก ซึ่งทำมาจากเซรามิคให้มีรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกับฟันซี่ใกล้เคียงให้เป็นธรรมชาติ

ข้อดีของการทำรากเทียม

•เพิ่มความมั่นใจ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
•ฟันเทียมที่ดูเป็นธรรมชาติและใช้งานได้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด
•ไม่ต้องกรอแต่งฟันซี่ข้างเคียง ไม่มีการสูญเสียฟันและกระดูกของฟันซี่อื่น
•สามารถบดเคี้ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่าฟันแท้
•ลดปัญหากับการออกเสียง พูดได้อย่างมั่นใจ เมื่อเทียบกับการใส่ฟันปลอมที่ถอดเข้าออก
•ให้ความสวยงาม ยิ้มอย่างมั่นใจ บุคลิกภาพที่ดี
•เสริมสร้างสุขภาพช่องปาก ป้องกันฟันเอียงฟันล้ม
•ใช้งานได้ในระยะยาว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและการใช้งาน

การดูแลรักษารากฟันเทียม

ใครที่มีความจำเป็นจะต้องใส่รากฟันเทียม ควรเลือกทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดเปลี่ยนรากฟันเทียมโดยเฉพาะ เลือกใช้รากฟันเทียมคุณภาพสูง และดูแลรักษาความสะอาดช่องปาก และฟันอย่างสม่ำเสมอ ระมัดระวังการบดเคี้ยวด้วยการเลี่ยงการบดเคี้ยวของแข็งเพื่อช่วยรักษารากฟันเทียมให้ยืนยาว

1. ปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์  ทานยาตามเวลาที่กำหนด ให้ครบทุกมื้อเพื่อช่วยลดการอักเสบ การบวมของแผล เพื่อให้การฝังรากฟันเทียมสำเร็จ
2. งด หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ประมาณ 2 สัปดาห์ เพราะการสูบบุหรี่นั้นส่งผลเสียมากมายต่อสุขภาพช่องปากโดยตรง เช่น เหงือกอักเสบ มีโอกาสติดเชื้อ ฟันผุ มะเร็งในช่องปาก และส่งผลเสียต่อการฝัง รากฟันเทียม ด้วย
3. ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลังการการฝังรากเทียม 2-3 สัปดาห์ ระหว่างที่แผลยังไม่สมานตัวดี จะเป็นการเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการอักเสบและติดเชื้ออย่างมาก รวมไปถึงในบางรายอาจทำให้การฝังรากเทียมล้มเหลว
4. หลีกเลี่ยงการกัด รับประหารอาหาร ผลไม้ที่แข็งจนเกินไป อาจทำให้ครอบฟันบิ่น แตกและหัก รวมถึงรากเทียมได้รับการประทบการะเทือนจนโยกได้
5. สร้างสุขนิสัยที่ดีต่อช่องปาก แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟัน  บ้วนปากหลังรับประทานอาหาร
6. พบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็คสุขภาพฟันทุก 6 เดือน หรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า